ประกันภัยรถยนต์ของรถกระบะ ต่างกับรถยนต์ทั่วไปหรือไม่?

529 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประกันภัยรถยนต์ของรถกระบะ ต่างกับรถยนต์ทั่วไปหรือไม่?

ประกันภัยรถยนต์ของรถกระบะ ต่างกับรถยนต์ทั่วไปหรือไม่?

รถกระบะเป็นรถที่อยู่คู่กับคนทุกที่ทั้งต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเทศกาลหรือวันสงกรานต์ รถกระบะจะวิ่งกันเต็มท้องถนนเลยก็ว่าได้ ด้วยประโยชน์ที่สามารถบรรทุกของได้เยอะกว่ารถเก๋งทั่วไป จึงถือว่าเป็นจุดแข็งที่ทำให้หลายๆ คน ยอมควักเงินจ่ายซื้อรถกระบะแทนที่จะเป็นรถเก๋ง

แล้วรถกระบะที่บรรจุของเยอะและพร้อมลุยทุกสถานการณ์แบบนี้ การทำประกันภัยจะต่างจากรถเก๋งทั่วไปหรือไม่ และรถกระบะควรจะทำประกันภัยแบบไหน?

ถึงรถทุกคันรวมถึงรถกระบะ จะมี พ.ร.บ. อยู่แล้วเหมือนรถทั่วไป แต่รถกระบะสามารถทำประกันเหมือนรถเก๋งทั่วไปได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วรถกระบะที่จะทำประกันชั้น 1 จะต้องเลือกความคุ้มครองประเภทกระบะ ”ส่วนบุคคล” ไม่ใช่เลือกแบบ “รถที่ใช้ในการพาณิชย์” เนื่องจากมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่น้อยกว่า แต่หากทำประกันแบบ “รถที่ใช้ในการพาณิชย์” เช่นรถสาธารณะ บรรทุกของตามโรงงานต่างๆ จะต้องเลือกทำประกันชั้น 2+ เพราะมีความเสี่ยงที่สูงกว่า แต่ความคุ้มครองก็คือว่าครบครันใกล้เคียงกับการทำประกันชั้น 1

มาดูเทคนิคการประเมินตัวเองแบบง่ายๆ ว่าควรทำประกันรถกระบะไหม จากพฤติกรรมการขับขี่ของคุณกันดีกว่า ถ้าคุณเป็นคนที่ ....  

  • ต้องขับรถอยู่บ่อยครั้งหรือต้องขับเป็นประจำทุกวัน
  • ต้องขับรถตอนกลางคืนบ่อยๆ
  • ต้องบรรทุกของเป็นประจำ
  • ใช้รถคันใหม่จากศูนย์หรืออายุการใช้งานรถยังไม่เยอะมาก

หากรถของคุณยังใหม่ และมีนิสัยการใช้รถคล้ายกับข้างบน ทางประกันภัย724 อยากแนะนำว่าควรจะทำประกันชั้น 1 ให้รถกระบะเอาไว้ดีกว่าครับ เพราะเราจะได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมทุกอย่าง ลองมาดูความคุ้มครองของประกันชั้น 1 เพื่อความอุ่นใจและมั่นใจกันนะครับ โดยจุดเด่นของการคุ้มครองของประกันภัยชั้น 1 ก็คือ

  • คุ้มครองค่าเสียหายและค่าซ่อมรถยนต์ทุกกรณีของอุบัติเหตุ ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายผิด
  • คุ้มครองกรณีคนขับรถบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
  • คุ้มครองผู้โดยสารในรถ กรณีบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพ
  • คุ้มครองหากรถเกิดสูญหายหรือไฟไหม้
  • คุ้มครองรถหากเกิดอุทกภัยและความคุ้มครองอื่นๆ ทีระบุในกรมธรรม์
  • หรือจะมองเป็นประกัน 2+ ก็ยังพอไหว เพราะความคุ้มครองค่อนข้างใกล้เคียงกับประกันภัยชั้น 1 แต่จะไม่คุ้มครองเรื่องน้ำท่วม และอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณีนั่นเอง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้