พรบ.รถที่ต่อทุกปี” เบิกได้สูงสุด 3 แสนบาท

2975 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พรบ.รถที่ต่อทุกปี” เบิกได้สูงสุด 3 แสนบาท

พรบ.รถที่ต่อทุกปี” เบิกได้สูงสุด 3 แสนบาท ไม่ต้องขึ้นศาล ประกันต้องจ่ายภายใน 7 วัน

คำว่า "พ.ร.บ." ที่เราพูดกันติดปาก ที่จริงแล้วคืออะไรกันแน่ เคยสงสัยกันบ้างมั้ยครับ

"พ.ร.บ." คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่กฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องทำประกันภัยประเภทนี้เพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นจะเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายจะให้ความคุ้มครองต่อตัวคู่กรณีและผู้เอาประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด


เพื่อนๆ เคยสงสัยเหมือนผมมั้ยครับว่า "แล้วถ้าไม่ซื้อ พ.ร.บ. ล่ะจะได้มั้ย"

ไม่ได้ครับ เพราะต้องใช้ประกอบการต่อทะเบียนรถยนต์ หรือ การต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ตามที่กฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำ โดยสามารถต่อก่อนล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือนครับ

หากรถยนต์ของเราไม่มี พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และเจ้าของรถต้องเก็บรักษาหลักฐานการมีประกันนี้ไว้พร้อมแสดงต่อเจ้าหน้าที่ทุกเวลาที่ใช้รถยนต์ด้วย


"เอ้า! ... แล้วเราจะได้อะไรจากการซื้อ พ.ร.บ. บ้างล่ะ"

พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลเท่านั้น ไม่คุ้มครองความเสียหายอื่นใด ทั้งสิ้น พูดง่ายๆ คือ คุ้มครอง "คน" ไม่คุ้มครอง "รถ" นั่นเองครับ 

โดย มีวงเงินคุ้มครอง ดังนี้
   1. ค่ารักษาพยาบาล  ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อคน
   2. กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร  ไม่เกิน 300,000 บาท ต่อคน
   3. เงินชดเชยรายวัน (ผู้ป่วยใน)  ไม่เกิน 200 บาท ต่อวัน (ระยะเวลารวมไม่เกิน 20 วัน) 
   4. วงเงินความคุ้มครองต่อครั้ง  ไม่เกิน 5,000,000 บาท



"แล้วๆ ถ้าจะเคลมล่ะ ยุ่งยากมั้ย?"

เคลมง่าย เซฟขั้นตอนไว้เลยนะครับ (จะได้ไม่พลาด)

   1. แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อลงบันทึกประจำวัน
   2. เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล (เมื่อการรักษาเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมขอเอกสารจากโรงพยาบาลด้วยนะ)
       2.1 ใบรับรองแพทย์
       2.2 ใบเสร็จรับเงิน
   3. นำส่งเอกสารต่อบริษัท ประกันภัยที่ซื้อ พ.ร.บ. เพื่อขอเบิกค่ารักษาพยาบาล ดังนี้
       3.1 บันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
       3.2 ใบรับรองแพทย์
       3.3 ใบเสร็จรับเงิน
       3.4 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
 
 

"ขับรถยนต์อย่างอุ่นใจให้ทิพยประกันภัยเป็นเพื่อนร่วมทางด้วยนะครับ"

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้